♦ ก่อนเริ่มใช้งานทุกครั้ง ควรตรวจสอบระบบการทำงานของรอกและเครน ว่าปกติหรือไม่ ก่อนทำการยกชิ้นงาน
|
♦ ห้ามผู้ที่ไม่รู้วิธีการใช้งาน หรือไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบโดยตรงใช้รอกและเครน
|
♦ ไม่ควรใช้รอกและเครน เพื่อการโดยสาร
|
♦ หยุดการใช้รอกและเครน โดยกดปุ่มสวิทซ์ฉุกเฉินทันที เมื่อเสียงดังหรือระบบการทำงานผิดปกติ
|
♦ ไม่ควรเดินรอกหรือยกชิ้นงานข้ามศีรษะผู้อื่นโดยไม่บอกกล่าว อาจเกิดอุบัติเหตุและอันตรายได้
|
♦ ไม่ควรเล่น แกว่งหรือโยกอย่างคึกคะนอง ขณะทำการยกชิ้นงาน
|
♦ ห้ามทำการซ่อมแซมรอกเอง เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับรอก ควรแจ้งช่างซ่อมบำรุง หรือผู้รับผิดชอบโดยตรง
|
♦ ไม่ควรยกหรือห้อยชิ้นงานค้างไว้ โดยไม่จำเป็น
|
|
อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้งานผิดวิธี
|
|
♦ เมื่อทำการยกชิ้นงานปกติ ควรประคองชิ้นงานไม่ให้โยก หรือแกว่งในขณะทำการเคลื่อนย้าย
|
♦ ห้ามยกหรือทำการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน ที่มีน้ำหนักมากหรือถูกจัดวางในลักษณะทับซ้อนกัน
|
♦ ทุกครั้งที่จะยกชิ้นงาน ควรเช็คพิกัดน้ำหนักของชิ้นงานให้ถูกต้อง และไม่ให้เกินพิกัดน้ำหนักยกของตัวรอก
|
♦ การเคลื่อนที่ของเครนให้เคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการเกิดการแกว่งไปแกว่งมาของของที่ยก (Swing Load)
|
♦ อย่าทิ้งชุดควบคุมการทำงานของเครนไว้ ขณะกำลังยกของ
|
♦ เลิกใช้งานเครน ให้นำเครนกลับไปในตำแหน่งที่สำหรับไว้เครน และตัดไฟที่เมนสวิทซ์
|