2012.08.021 สมาคมการเชื่อมแห่งประเทศไทย

Last updated: 10 ม.ค. 2561  |  19575 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

 
 

สวัสดีค่ะ ลูกค้าทุกๆ ท่าน
 

        เดือนสิงหาคมนี้ เป็นเดือนสำคัญอีกเดือนหนึ่งค่ะ เพราะมีวันสำคัญคือวันเฉลิมพระชนพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ซึ่งก็ตรงกับ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพ และถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย โดยได้กำหนดให้ดอกมะลิสีขาวเป็นสัญลักษณ์ ความดีงามของผู้ให้กำเนิดแก่เรา และเป็นโอกาสที่เราลูกๆ ทุกคนจะได้แสดงความรัก ความห่วงใย ต่อคุณแม่ของเรา บางคนก็แสดงความรักโดยการพาคุณแม่ไปเที่ยวตามสถาที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไปทานอาหาร อยู่กันพร้อมหน้ากันกับสมาชิกใน ครอบครัวก็เป็นความอบอุ่นที่มีความสุขมากๆ ค่ะ และวันนี้ลูกๆ ทุกคนได้ทำดีเพื่อคุณแม่กันบางหรือยังค่ะ และก็ไม่ควรเลือกวันและเวลา และสถานที่ด้วย ควรทำดีกับท่านในทุกๆ วันเป็นลูกที่น่ารักของคุณแม่ อย่าให้คำว่าสายเกินไปมาใช้กับเราทั้งๆ ที่เราไม่เคยแม้แต่จะพูด และไม่เคยที่จะแสดงความรักให้คุณแม่เห็น และในเดือนนี้เลยถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ลูกๆ คนไหนจะเริ่มแสดงความรักให้กับคุณแม่เป็นครั้งแรกค่ะ ดังนั้นดิฉันขอให้คุณแม่ทุกท่านและลูกๆทุกคนมีความสุขแสดงความรักให้กันอย่างเต็มที่ค่ะ
 

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่ของประเทศไทย 
    

        ดิฉันอยากเล่าประวัติความเป็นมราเกี่ยวกับวันแม่แห่งชาติของประเทศไทยแราให้ทราบดังนี้ค่ะ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่มีรัฐบาลรับรอง คือ วันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมาเนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไปส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน  ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันสมเด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม่สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ  ค่ะ




 
 
 
 

        จากนี้เรามาเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของบริษัท ไทแทนเครน ในเดือนนี้กันดีกว่าค่ะ คือในเดือนนี้ดิฉันขอแนะนำเกี่ยวกับสมาคมเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย ดังที่ได้ขึ้นรูปภาพไว้ด้านบน ซึ่งอยากจะเล่าถึงความเป็นมาของสมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทยให้ทราบกันก่อน โดยเริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ.2521 ขณะที่อุตสาหกรรมไทยได้มีการขยายตัว งานเชื่อมโลหะก็ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเช่นกัน แต่ในขณะนั้นวงการเชื่อมบ้านเรา ยังขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ และทักษะอย่างแท้จริง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ชมรมพัฒนาการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย ซึ่งได้เริ่มจัดบรรยายทางวิชาการทางด้านงานเชื่อมให้กับทั้งภาครัฐและเอกชน จนเป็นที่รู้จักระดับหนึ่งในภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2524 จึงได้ก่อตั้งเป็น สมาคมการเชื่อมโลหะ และได้มีการขยายงานบริการในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น เพิ่อพัฒนาบุคลากร และยกระดับมาตรฐานงานเชื่อมของประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักภายใต้กรรมการบริหารของสมาคม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เชี่ยวชาญทางด้านงานเชื่อม และการตรวจสอบงานเชื่อมโลหะ ตลอดจนงานที่เกี่ยวข้องทางด้านงานเชื่อมค่ะ

        สมาคมการเชื่อมโลหะ ได้พัฒนาทางด้านวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากร และได้มีการรับรองบุคลากรที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับ และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานงานเชื่อมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล จึงได้ติดต่อ และประสานความร่วมมือกันระหว่าง สมาคมการเชื่อมโลหะ และสมาคมการเชื่อมโลหะในประเทศ ตลอดจนการส่งเยาวชนเข้าร่วมแข่งขันฝีมือช่างเชือมในประเทศต่างๆ และได้รับรางวัลกลับมาอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นความสำเร็จในด้านระดับสากล และเป็นการสร้างซื่อเสียงให้กับประเทศในสาขาวิชาชีพด้านงานเชื่อม และด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้ สมาคมการเชื่อมโลหะ จึงได้รับอนุมัติให้ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นหน่วยงานทางด้านงานเชื่อมโลหะภายใต้ชื่อ "สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย" เมื่ิอวันที่ 27 ธันวาคม 2543

วัตถุประสงค์ของสมาคม

- จัดการฝึกอบรม,สัมมนา และเผยแพร่ข่าวสารวิชาการทางด้านงานเชื่อมให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป

- ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาชีพทางด้านงานเชื่อม

- ทดสอบและออกใบรับรองให้ช่างตามระดับความสามารถ

- เป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ และทักษะในด้านงานเชื่อม

- ติดต่อและประสานงานกับหน่วยงาน และสมาคมต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานเชื่อม

- เพื่อยกระดับทักษณะด้านการเชื่อมโลหะภายในประเทศให้ได้มาตรฐานระดับสากล

- เพื่อสนับสนุนให้สมาชิก ได้รับรู้ความก้าวหน้าของโลกทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อม

- เพื่อส่งเสริมความสามัคคี และความเข้าใจอันดีระหว่างสมาชิก

- สมาคมจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใดๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวข้องในทางการเมือง

- ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นการสนับสนุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวมา


ก่อนจะเป็นหลักสูตร TWS - JWES Welding Engineer

        การรับรอง Welding Engineer ในประเทศญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 (คศ.1972) ตามความ ต้องการทางด้านความปลอดภัยของ โครงสร้างเชื่อม ซึ่งควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ของผู้ที่มีความรู้ และความเข้าใจใน ด้านงานเชื่อมเป็นอย่างดี สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทยเอง ก็ตระหนักถึงความสำคัญและความต้องการดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทย ยังมีหลักสูตร สำหรับวิศวกรการเชื่อมค่อนข้างน้อย ในขณะที่ความต้องการ วิศวกรงานเชื่อม มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย จึงร่วมกับ Japan Wengineering Society (JWES) จัดการอบรม และสอบรับรองวิศวกรการเชื่อมตามแนวของ JWES ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน WES8103 สมาคมการเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทยได้เริ่มติดต่อประสานงานกับ JWES จนกระทั่งสามารถจัดการอบรม และสอบรับรอง Welding Engineer ได้เป็นครั้งแรกในปี พศ. 2548

        ดังนั้นทางบริษัท ไทแทน เครน จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของงานเชื่อมโลหะ   เราจึงเรียนเชิญเจ้าหน้าที่ของทางสมาคมงานเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทย เข้ามาทำการอบรมเพิ่มความรู้ และทดสอบงานเชื่อมให้กับพนักงานของ บริษัท ไทแทนเครน ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ 2555 ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ได้มีการบันทึกภาพถ่ายการเชื่อมโลหะของพนักงาน ไทแทนเครน เอาไว้ด้วย ดิฉันจึงขอนำภาพถ่ายมาให้ลูกค้าทุกท่านได้ชมกิจกรรมต่างๆ ในวันนั้น ดังภาพด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 

       
        สรุปหลังจากที่ทางสมาคมช่างเชื่อมโลหะ ได้ทำการอบรมเพิ่มเติมความรู้ และทดสอบความสมารถในการเชื่อมของพนักงาน บริษัท ไทนแทน เครน จำกัด ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ในระดับสูงถึง 6G และเก็บตัวอย่างชิ้นงานไปทำการ X-RAY ที่สถาบันทดสอบ ซึ้งในครั้งนี้พนักงานของไทแทนแทนเครนได้ผ่านการทดสอบจำนวน 6 ท่านด้วยกัน ดั้งนั้นทางสมาคมช่างเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทยได้มีการออกเอกสาร WELDER QUALIFICATION TEST RECORD ระดับ 6G เพื่อรับรองว่าพนักงานของบริษัท ไทแทน เครน จำกัด ได้มีคุณภาพการเชื่อม และผลงานการเชื่อมโลหะที่ได้มาตรฐานตามที่สมาคมช่างเชื่อมโลหะแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ ดังรายชื่อพนักงานด้านล่างดังต่อไปนี้

1. นายวิทยา หาญบัญลี
2. นายราญดอน วิเชียร
3. นายปัญญา บุตตะสา
4. นายอมร ลินทอง
5. นายอุเทน เงินขำ
6. นายธาดา หมวกเหล็ก

             
        สำหรับเอกสาร WELDER QUALIFICATION TEST RECORD ของพนักที่ทดสอบการเชื่อมผ่านในครั้งนี้ ดิฉันขอนำมาให้ลูกค้าทุกท่านๆ ได้ดูประกอบด้านล่างนี้ด้วยเลยค่ะ

 


         และในโอกาสนี้  บริษัท ไทแทน เครน จำกัด  ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ทางลูกค้าผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน ที่ได้คอยติดตามข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ที่ทางบริษัทเราได้นำเสนอออกไปถึงลูกค้าทุกท่านในทุกๆ เดือนค่ะ และทางบริษัท ไทแทนเครน ของเราขอสัญญาว่าจะทำการพัฒนาคุณภาพงานด้านต่างๆ ของบริษัทฯอย่างสม่ำเสมอ พร้อมจะมีการจัดทำนำเสนอข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานและกิจการรมของทางบริษัทฯ  มาคอยนำเสนอให้กับลูกค้าทุกท่านได้รับทราบกันอยู่ตลอดทุกๆ เดือนค่ะ แล้วจะกลับมาพบกันใหม่ในฉบับเดือนกันยายนนี้ค่ะ สวัสดีค่ะ

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้