เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง

Last updated: 15 ก.ย. 2553  |  64211 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 
เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง
UNDERHUNG CRANES
     เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง สามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ ตามความเหมาะสมด้านการใช้งานเกี่ยวกับการยกน้ำหนัก และความกว้างในตัวอาคารโรงงาน ดังที่ได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในส่วนของเครนเหนือศีรษะที่วิ่งด้านบนรางวิ่ง แต่สำหรับความแตกต่างกันที่ต้องนำเครนเหนือศีรษะลงมาแขวนวิ่งใต้รางก็คือ เครนลักษณะนี้มีความเหมาะสมใช้กับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่ต้องการใช้งานพื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นอาคารโรงจอดซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ หรือโรงงานสร้างเรือยอร์ชในร่ม และโรงงานประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีความกว้างยาวใหญ่โต เพื่อใช้งานยกชิ้นส่วนการประกอบติดตั้งแยกเป็นชิ้นๆ ขึ้นไป โดยอาจจะติดตั้งชุดรางวิ่งแบบคู่เดียวไว้ที่เสาทั้ง 2 ข้าง หรือติดตั้งพร้อมกันหลายๆ รางวิ่งติดยึดไว้ที่โครงสร้างหลังคา ดังเช่นบนภาพด้านบน ซึ่งหลังคาประเภทนี้จะออกแบบสร้างขึงไว้อย่างแข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักเครนที่เคลื่อนไหวได้ด้วย

     เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง เหมาะกับงานที่ใช้ยกน้ำหนักไม่หนักมาก ตั้งแต่ 1-12.5 ตัน สำหรับโรงงานที่ออกแบบรางวิ่งแขวนยึดกับจุดรับน้ำหนักที่เสาโรงงานโดยตรง และยกน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน ในกรณีที่รางวิ่งแขวนรับยึดจากโครงสร้างหลังคาที่กว้างมาก และควรมีความกว้างระหว่างช่วงรางวิ่งเครน แต่ละช่วงรางวิ่งไม่เกิน  20 เมตร และสำหรับเครนชนิดนี้ ถือเป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้กันเฉพาะงาน ซึ่งมีใช้งานกันไม่มากนัก เพราะถ้าเป็นการใช้งานแบบปกติเมื่อเปรียบเทียบกับเครนเหนือศีรษะวิ่งอยู่บนรางจะสามารถทำได้ง่ายกว่า งบประมาณการสร้างถูกกว่า และมีความปลอดภัยมากกว่า จึงถือว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องสร้างเครนชนิดนี้เพื่อใช้งานเลย
 
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้