สำหรับในเดือนนี้ผมจะมาอธิบายวิธีการคำนวณการใช้งานกรุ๊ปรอก M5 L3 T4 ครับ อีกหนึ่งหัวใจหลักของงานเครน คือการเลือกใช้งานรอกไฟฟ้าให้เหมาะสมกับหน้างานของท่าน รอกไฟฟ้าแต่ละกรุ๊ปจะมีความเหมาะสมในอัตราการใช้งานหนักหรือเบาแตกต่างกันออกไป ลูกค้าควรเลือกกรุ๊ปรอกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานให้คุ้มค่ากับเงินที่ท่านได้ลงทุนไปครับ |
|
|
ตัวอย่างวิธีการคำนวณการใช้งานกรุ๊ปรอก M5 L3 T4 |
1. หาค่า TM หรือ ชม.ใช้งาน เฉลี่ย/วัน |
= 2 x ระยะความสูงที่ยกโดยเฉลี่ย (เมตร) x จำนวนครั้ง/ชม. x ชั่วโมงการทำงาน/วัน
60 x ความเร็ว (เมตร/นาที) |
ตัวอย่าง |
= 2 x 5.5 x 5 x 8
60 x 5.5 |
= 440
330 |
= 1.33 |
จากผลลัพธ์ตามตัวอย่างที่ได้มาอยู่ที่ 1.33 ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบในตารางด้านล่างจะตรงกับ Class Of Operating Time ที่ T4 เราก็จะทราบระยะเวลาที่ควรจะหยุดใช้งานรอก เพื่อนำมาซ่อมบำรุง และเปลี่ยนอะไหล่เบื้องต้น ซึ่งตามตารางจะอยู่ที่ 3,200 ชั่วโมง |
|
|
2. หาค่า K หรือ Load spectrum |
= ((น้ำหนัก 1 x เวลา 1) + (น้ำหนัก 2 x เวลา 2) + (น้ำหนักสุดท้าย x เวลาสุดท้าย))
ขนาดรอก x เวลารวม |
ตัวอย่าง |
= ((8 x 20) + (7 x 20) + (6 x 10)) = 160 + 140 + 60
10 x (20 + 20 + 10) 500 |
= 360
500 |
= 0.72 |
ดังตัวอย่าง ค่า k ที่ได้มาเท่ากับ 0.72 ซึ่งจะอยู่ในช่วงของ L 3 (heavy) และเมื่อเราทำการเทียบตารางระหว่าง T4 กับ L3 เราก็จะสามารถทราบได้ว่า กรุ๊ปรอกที่เหมาะสมกับอัตราการใช้งานเช่นนี้ คือ กรุ๊ป M5 นั่นเองครับ |
|
|
เป็นอย่างไรบ้างครับไม่ยากเลยใช่ไหมครับสำหรับวิธีการคำนวณการใช้งานรอกไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับอัตตราการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ผมหวังว่าข้อมูลที่ผมหยิบยกมานำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกซื้อรอกไฟฟ้าของลูกค้าเพื่อการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพคุ้มค่ากับเงินที่ลูกค้าได้ลงทุนไป |